ตัวอย่างแบบประเมินผลงานพนักงานประจำปี

เผลอแป๊ปเดียวก็ถึงช่วงกลางปีกันแล้วครับ ทำไมพวกเรายังรู้สึกเหมือนผ่านช่วงสิ้นปีมาได้ไม่นาน เวลาช่างผ่านไปเร็วยิ่งนัก สาเหตุสำคัญก็คือช่วง COVID-19 ที่แทบทุกคนต้องทำงานที่บ้านเป็นเวลาเกือบ 3 เดือนเชียวล่ะครับ ไล่ตั้งแต่ปลายมีนาจนถึงตอนนี้ โชคดีมากๆ ที่ทุกอย่างกลับมาเดินได้ ถึงแม้ว่าจะไม่เหมือนเดิมก็ตาม

แล้วเวลาที่ผ่านไปเกี่ยวอะไรกับการประเมินผลงานประจำปี? เพราะว่าช่วงนี้มีหลายๆ องค์กรเข้าสู่ช่วงการประเมินผลงานพนักงานกันแล้วช่วงครึ่งปีแรก ผมจึงขอเขียนรวบยอดให้กับผู้บริหารฯ ที่ต้องเป็นผู้ประเมินพนักงานเพื่อโปรโมทตำแหน่งหรือปรับเงินเดือนกับให้โบนัสว่ามีวิธีการประเมินมาตรฐานที่เป็นตัวเลขอย่างไรกันบ้างดังนี้

1. การประเมินเชิงประมาณ (Quantitative Review)

คือการประเมินที่ตรงไปตรงมาก็คือตัวเลข เช่น ยอดขาย ผลกำไร การส่งมอบงาน ฯลฯ ที่บริษัทตั้งเอาไว้ให้และเทียบกับตัวเลขที่พนักงานแต่ละคนทำได้ เช่น คุณตั้งยอดขายพนักงานไว้ที่ 50 ล้านบาท พนักงาน A ทำผลงานได้ 55 ล้านบาท ดังนั้นตีเป็นเปอร์เซ็นก็คือ 110% เป็นต้น หมายความว่าพนักงาน A มีผลงานเชิงประมาณสูงกว่ามาตรฐานนั่นเองครับ คุณจึงสามารถสร้างเกณฑ์การวัดผลง่ายๆ ดังนี้

– >120% = Exceptional (โดดเด่นมาก)

– >100-120% = Excellent (ยอดเยี่ยมมาก)

– 100% = Good (ดีมาก)

– >80%-100% = Acceptable (ยอมรับได้แต่ยังไม่ถึงตามที่คาดหวัง)

– <80% = Need to Improve (ควรปรับปรุง)

โดยคุณสามารถเพิ่มเงื่อนไขเพื่อให้ได้ตัวเลขรวมเพิ่มเติม เช่น ผลกำไร จำนวนลูกค้าที่ปิดเพิ่มได้ จำนวนชิ้นงานที่ส่งมอบและทำให้เซลล์ปิดการขายได้ เป็นต้น

2. การประเมินเชิงคุณภาพ (Qualitative Review)

คือการประเมินการทำงานที่บางทีก็วัดผลเป็นตัวเลขไม่ได้ เนื่องจากเป็นการใช้ความรู้สึกกับความเห็นโดยรวมในการประเมิน คุณควรให้ผู้ถูกประเมินต้อง “ประเมินตนเอง” และนำการประเมินจากสายตาของคุณมาเปรียบเทียบกัน เพราะเป็นไปได้อย่างมากที่ผู้ถูกประเมินจะประเมินตัวเอง “เกิน” หรือ “น้อย” จากความเป็นจริง ถ้าคนที่ประเมินโอเวอร์จากสิ่งที่คุณเห็น คุณจะได้ให้ความเห็นว่าในสายตาคุณพวกเขาเป็นอย่างไร จะได้ปรับปรุงพวกเขาได้ แต่ถ้าพวกเขาประเมินตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง คุณก็จะได้ให้กำลังใจพวกเขาพร้อมกับเหตุผลที่พวกเขาไม่ควรประเมินตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง ตัวอย่างแบบประเมินเชิงคุณภาพมีดังนี้

– การปรับตัวและรับมือกับการแก้ไขปัญหา

– ความคิดสร้างสรรค์และความรับผิดชอบ

– ความว่องไวและความละเอียดในการทำงาน

– ความกระหายและความทะเยอทะยาน

– ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานเพื่อเติบโตไปพร้อมๆ กัน

เกณฑ์การให้คะแนนก็สามารถทำเป็น % แบบการประเมินเชิงปริมาณนั่นเองครับ

3. การตอบแทนหลังการประเมิน

เมื่อประเมินเชิงคุณภาพและปริมาณออกมาเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถกำหนดอนาคตให้พวกเขาได้ โดยสามารถสร้างเงื่อนไขได้ตามความต้องการขององค์กร ซึ่งผมก็มีตัวอย่างที่เกี่ยวกับค่าตอบแทน การตั้งแต่ โบนัส ดังนี้

– มากกว่า 120% = โปรโมตหรือมีโอกาสโปรโมตตำแหน่ง โบนัส 2 เดือน ขึ้นเงินเดือนมากกว่า 10%

– 100-120% = โบนัส 1.5 เดือน ขึ้นเงินเดือนประมาณ 10%

– 100% = โบนัส 1 เดือน ขึ้นเงินเดือน 7-9%

– 80-100% = โบนัส 0.5 เดือน ขึ้นเงินเดือน 5%

– ตำกว่า 80% = ไม่ได้โบนัส ขึ้นเงินเดือน 2-4% หรือถูกขึ้นบัญชีเพื่อโยกย้ายตำแหน่ง

Leave your vote

Comments

0 comments

Similar Posts

ใส่ความเห็น