Micromanagement คืออะไร และควรใช้อย่างไร

Micromanagement คือการจัดการระดับย่อย ทั้งการเฝ้าติดตาม มองดู สังเกตการณ์ และจัดการลูกน้องในทุกขั้นตอน พูดเป็นภาษาบ้านๆ ก็คือ “เป็นผู้จัดการที่จุกจิก” ในทุกขั้นตอนการทำงานของลูกน้องก็ได้มั้ง

สมัยก่อนยุคคุณลุงคุณป้าคงไม่แปลกใจเท่าไหร่กับการที่หัวหน้างานจะจู้จี้จุกจิกในทุกขั้นตอนการทำงานของลูกน้องตามที่คุณเห็นบ่อยๆ ในกระทู้พันทิปนั่นแหละครับ ไล่ตั้งแต่การเช็คลูกน้องที่มาสาย การจี้ให้ลูกน้องเขียนรายงานทุกครั้ง การทำเรื่องเบิกเงินตามบิลต้องเขียนที่มาที่ไปทุกอย่าง ไปจนถึงค่าน้ำมันที่ถึงขั้นเขียนจำนวนกิโลเมตรที่วิ่งออกตลาดแล้วเบิกตามจริงเลยด้วยซ้ำ

ยุคนี้เป็นยุคที่เด็กรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดงานอย่างแท้จริง ลุงๆ อายุ 45 ขึ้นไปคงเป็นผู้บริหารกันหมดแล้ว ดังนั้นตอนนี้คุณคงรู้ดีว่าเด็กรุ่นใหม่ “มีความเป็นตัวของตัวเอง” สูง พวกเขาต้องการอิสระในการทำงานและการกล้าแสดงออก กฎเหล็กประจำบริษัท เช่น ตอกบัตร ต้องทำงานในที่ทำงาน ต้องสวมยูนิฟอร์มของบริษัทเท่านั้น ฯลฯ ก็ค่อยๆ เลือนหายไปตามกาลเวลา

ยิ่งสมัยนี้องค์กรต้องปรับตัวอย่างหนักช่วง COVID-19 ทำให้การทำงานแบบ Work from Home หรือ Work from Anywhere มีการปรับใช้อย่างแพร่หลาย อีกทั้งวัฒนธรรมองค์กรแบบ Startup เช่น Grab, Line, Google, Facebook, etc. ที่องค์กรระดับโลกผ่อนคลายกฎและให้อิสระพนักงานมากขึ้น ทำให้การควบคุมการทำงานที่จู้จี้จุกจิกแบบสมัยก่อนทำให้พวกเขาไม่มีความสุข จนเกิดเหตุการณ์สมองไหลขึ้นก็ได้

การปล่อยให้พวกเขาทำงานชิลเกินไปก็ไม่ดีเพราะพนักงานอาจหย่อนประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ตึงไปก็ทำให้พวกเขาไม่มีความสุขและประสิทธิภาพงานไม่ดี ดังนั้นมาอ่านบทความของผมกันเลยครับว่าคุณควรที่จะใช้การ Micromanagement ในช่วงใดถึงจะมีความเหมาะสม

1. ใช้เมื่อธุรกิจของบริษัทไม่สู้ดีนักโดยเฉพาะยอดขาย

ช่วง COVID-19 ธุรกิจเกือบทุกอย่างแทบจะหยุดชะงัก แถมยังต้องทำงานที่บ้านไปพลางๆ ก่อน ทำให้การ Micromanagement จะต้องถูกนำมาปรับใช้เพื่อเช็คกิจกรรมการทำงานของลูกน้องทุกจุด พยายามอย่าปล่อยให้ลูกน้องสื่อสารกันเองภายในแล้วคุณไม่รู้เรื่องอะไรเลย อย่างนี้ถือว่าอันตรายมากเพราะคุณจะไม่สามารถติดตามผลหลังจากมอบงานให้ลูกน้องไปแล้ว จงจำไว้ว่าเมื่อใดที่ยอดขายบริษัทตกต่ำไม่ว่าจะด้วยเหตุการณ์อะไรก็ตาม คุณเองต้องมีส่วนรับผิดชอบ และสิ่งที่ผู้บริหารต้องการก็คือข้อมูลว่าลูกน้องทำกิจกรรมการทำงานอย่างไม่มีตก ถึงแม้จะขายไม่ได้เพราะเจอปัญหาแต่ก็ยังเป็นเหตุผลที่พอรับได้ครับ 

2. วิธีทำ Micromanagement เพื่อเพิ่มยอดขาย

ตัวอย่างง่ายๆ ของการลงไป Micromanagement ฝ่ายขายเพื่อให้ยอดขายไม่แย่ไปกว่าเดิมมีดังนี้

– การหาลีด: ให้ลูกน้องอัพเดทรายชื่อลูกค้าที่วางแผนจะเข้าไปขาย (Prospect List) และต้องอัพเดทให้ดูทุกวัน

– การทำนัด: ตรวจเช็คตารางนัดลูกน้องทุกคนว่าวันนึงมีนัดกี่นัด ถ้านัดไม่ได้เลยก็ต้องลงไปช่วยทำนัดให้

– การนำเสนอ: พยายามเข้าไปวิ่งออกตลาดหรือนัดผ่านวีดีโอกับลูกน้องให้มากที่สุดเพื่อดูว่าพวกเขานำเสนออะไร กับช่วยเสริมเวลาเห็นโอกาสที่จะขายของให้ลูกค้าได้อีกแรง และทำให้ลูกน้องตั้งงบกับลูกค้าให้ได้

– การติดตามงาน: ต้องละเอียดเป็นพิเศษตั้งแต่การดูเซลล์รีพอร์ทที่ต้องอัพเดททุกสถานะหรือปักหมุดวันติดตามงานตลอด รวมถึงต้องทำการสุ่มติดตามงาน เช่น โทรไปสอบถามลูกค้า ฯลฯ เพื่อเช็คว่าพวกเขาไม่ได้อัพเดทซี้ซั้ว สุดท้ายคือการจัดประชุมภายในเพื่อเอาลีดที่กำลังติดตามงานมาคุยทุกโปรเจค

– การปิดการขาย: ควรตรวจเช็คสถานะใบเสนอราคาทุกใบว่าปิดการขายได้ไหม ถ้าไม่ได้เป็นเพราะอะไร และเมื่อมีนัดสำคัญเพื่อปิดการขายก็ควรออกตลาดพร้อมลูกน้องทุกครั้ง

3. ควรใช้อีเมล์เป็นเครื่องมือในการติดตามผลอยู่เสมอ 

อีเมล์เป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมและทำให้ลูกน้องไม่รู้สึกกดดันเกินไปเวลาคุณทำ Micromanagement เพราะอีเมล์สามารถระบุลายลักษณ์อักษรได้ และควรกำชับให้ลูกน้องทุกคนรายงานผลการทำงานผ่านอีเมล์ด้วยเสมอด้วยการลูปคุณในทุกอีเมล์ที่ลูกน้องส่งออกไปไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม เพื่อเป็นเครื่องมือกันลืมไปอีกทางและทำให้ประสิทธิภาพในการติดตามงาน อีกทั้งยังรู้ความเคลื่อนไหวว่าพวกเขาทำอะไรในวันๆ นึงด้วยครับ

Leave your vote

Comments

0 comments

Similar Posts

ใส่ความเห็น