Empathy Skills is the best

วันนี้ผมจะขอพูดถึงหนึ่งในสุดยอดทักษะแห่งชีวิต สกิลนี้บอกเลยว่าทำให้คุณประสบความสำเร็จในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการงาน เพื่อนฝูง ครอบครัว หรือแม้แต่แก้ไขเรื่องขุ่นมัวอันแสนหงุดหงิดอย่างการโดนขับรถปาดหน้าแบบกวนตีนได้เลยด้วยซ้ำ

เรามาฝึกทักษะแห่งชีวิตนี้กัน โดยผมได้รับความรู้มาจากสถาบันธุรกิจระดับโลก Kellogg School of Management ซึ่งรับรองว่าคุณจะสามารถกระทำการใดๆ ก็ตามและไม่ว่าจะมีความขัดแย้งแค่ไหน คุณก็จะสามารถผ่านมันไปได้อย่างราบรื่นครับ

1. Empathy คือทักษะการเห็นอกเห็นใจอย่างแท้จริง

เคยมั้ยครับที่เวลาคุณเห็นคนที่ท่าทางจนๆ เดินมาเช็ดกระจกหน้ารถคุณ คุณรู้สึกรำคาญ คุณตัดสินเค้าทันทีว่าพวกนี้มันจน กระจอก เป็นได้แค่เด็กเช็ดกระจก แถมยังมาเอารัดเอาเปรียบคุณอีกต่างหาก ลองคิดในมุมกลับกันนะครับ ถ้าคุณเป็นเด็กเช็ดกระจกคนนั้น ต้องทนทำงานร้อนๆ มาเช็ดกระจกแล้วเจอผู้คนรำคาญอีกเป็นร้อยเป็นพัน เหตุผลคือเด็กพวกนั้นไม่มีทางเลือก ไม่ว่าจะมีเจตนาอะไรก็แล้วแต่ เพียงแค่คุณรู้สึกเห็นอกเห็นใจเค้า คุณจะรู้สึกสงบลง กลายเป็นความเห็นใจเด็กพวกนั้น ความโกรธก็จะลดลงทันที

2. เริ่มจากการฟังให้มากกว่าพูด

คุณสามารถลงมือฝึกทักษะ Empathy ได้ทันที ตอนนี้เลยด้วยซ้ำ เริ่มจากลองหันมาเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด อาจจะรู้สึกอึดอัดบ้างสำหรับคนที่ชอบพูด ชอบเม้า หรือเป็นบุคลิกแบบ Extrovert คุณรู้ตัวไหมครับว่าคุณอาจจะไม่ได้เป็นนักฟังที่ดีเลย ลองฝึกการฟังแบบ “จับใจความ” ซึ่งแรกๆ อาจจะอึดอัดนิดนึง เริ่มจากการฟังคู่สนทนาพูดให้จบหรือหยุดการพูดไปซักพักนึง ลองจับใจความว่าสิ่งที่พวกเขาคิดหรือรู้สึกนั้นเป็นอย่างไร จากนั้นก็ลองเอาความรู้สึกของคุณแปลความหมายและถามคำถามกลับเพื่อเช็คความเข้าใจ

ตัวอย่างการฟังจับใจความที่ดี

คำถาม: “วันเสาร์ที่ผ่านมา แกทำอะไรบ้าง”

ประโยคที่ฟังอย่างตั้งใจ “เมื่อวันเสาร์กูตื่นช่วงสายๆ จากนั้นเราก็ไปออกรอบตีกอล์ฟกับเพื่อนที่สนามกอล์ฟไพน์เฮิร์ส โคตรสนุกเลย วันนั้นตีดีมาก สมกับที่ซ้อมมานาน แต่ก็รำคาญที่มีเพื่อนในก๊วนแม่งตีโคตรช้า แถมยังเอาใหม่ตั้งหลายๆ รอบ กูอย่างเซ็งเลย จากนั้นตอนค่ำกูรีบสั่งสเต๊กผ่านแกร็บแล้วก็เปิดไวน์แดกอย่างเมา ดูบอลไปด้วยโคตรมันส์ ภาพตัดเลยว่ะมึง”

สิ่งที่จับใจความได้

– เพื่อนมักจะตีกอล์ฟวันเสาร์ แสดงว่าชอบตีกอล์ฟทุกวีกเอนด์
– ตื่นช่วงสายๆ แสดงว่าวันศุกร์น่าจะนอนนานๆ
– รำคาญเพื่อนในกอล์ฟตีช้า แสดงว่าเป็นคนเคร่งเรื่องเวลามาก
– สั่งสเต๊กผ่านแกร็บ แสดงว่าชอบกินสเต๊กเนื้อมากๆ คุยเรื่องนี้คงมีความสุข
– เปิดไวน์ แสดงว่ามีรสนิยม ขี้เมาพอใช้ได้เพื่อนเรา
– ดูบอล อย่างนี้น่าจะมีทีมที่ชอบแน่ๆ
– ภาพตัด แสดงว่าแดกเหล้าทั้งที่ต้องเอาให้สุด กินให้ยับ 555

เห็นไหมครับว่าเมื่อคุณฟังเพื่อนคุณพูดจนจบประโยค แล้วจับใจความดีๆ จากนั้นก็ลองแปลความหมายในสิ่งที่พวกเขาพูด รับรองว่ารู้ไปจนถึงเรื่องนิสัยเลยด้วยซ้ำครับ

3. ถามคำถามเพื่อเช็คว่าคุณ Empathy ถูกต้องจริงๆ

สุดท้ายก็คือการถามคำถามเพื่อทดสอบว่าสิ่งที่คุณคิดนั้นถูกต้องหรือไม่ ด้วยคำถามตัวอย่างที่มีจุดประสงค์หลายรูปแบบ ดังนี้

– คำถามปลายปิด หรือคำถาม Yes/No เช่น “นายชอบกินไวน์ใช่หรือไม่” “ชอบตีกอล์ฟหรอ” คำตอบที่ได้ก็คือใช่หรือไม่ใช่นั่นเองครับ
– คำถามปลายเปิด คือคำถามที่เอาไว้ให้ผู้พูดแสดงความคิดเห็น เช่น “สนามกอล์ฟไพน์เฮิสตีแล้วสนุกยังไงเหรอ” เป็นต้น เป็นคำถามเพื่อฟังความคิดเห็นของผู้พูด
– คำถามทางเลือก คือคำถามที่ให้ผู้ตอบเลือกทางใดทางหนึ่ง เช่น “ระหว่างตีกอล์ฟกับไปเที่ยวต่างจังหวัด ชอบทำอะไรมากกว่ากัน” เป็นต้น
– คำถาม 5 What 1 Why คือคำถามเก็บข้อมูล เช่น “มึงชอบไปตีกอล์ฟที่ไหน” “มึงชอบกินไวน์ยี่ห้ออะไรบ้าง” “ปกติตีกอล์ฟช่วงไหนบ้าง” เป็นต้น

4. Mirroring เพื่อใช้เลียนแบบพฤติกรรมของผู้พูด

คือการทำให้คุณรู้สึกได้จริงๆ ว่าคุณฟังแล้วเข้าใจกับเห็นอกเห็นใจพวกเขา โดยการใช้พฤติกรรมกระจกสะท้อนเหมือนคู่สนทนา ตัวอย่างนี้ง่ายมาก เช่น คู่สนทนารู้สึกมีความสุข คุณคุยก็ควรมีรอยยิ้ม รู้สึกตลกก็ตลกด้วย หรือถ้าพวกเขากำลังโศกเศร้า คุณเองก็ควรแสดงสีหน้า ท่าทาง ที่บ่งบอกถึงความเศร้าด้วยเช่นกัน รับรองว่าคู่สนทนารับรู้ได้เลยว่าคุณเข้าใจพวกเขามากจริงๆ และคุณไม่จำเป็นต้องออกความเห็นใดๆ นะครับ เพราะคุณสนทนาบางทีก็ไม่อยากรู้ ไม่ต้องการให้คุณมาออกความเห็น ถ้าเขาต้องการ เขาถามเอง

Leave your vote

Comments

0 comments

Similar Posts