ใช้ LinkedIn หาลูกค้า B2B ที่เข้าถึงยาก ด้วยวิธีนี้

LinkedIn คือเครือข่ายสังคมเหมือนเฟซบุ้คที่อุดมไปด้วยคนทำงานบริษัท (White Collar) หรือเอาไว้ใช้หางานใหม่ได้รวดเร็วกว่าพวกเว็ปไซต์ประกาศรับสมัครงานแบบโคตรๆ

จึงไม่แปลกที่บรรดาคนทำงานทั้งตำแหน่งเล็กใหญ่ หรือองค์กรอบต. ยันระดับโลก ก็มักจะมีโปรไฟล์อยู่ในลิ้งก์อินซึ่งก็เหมือนเฟซบุ้คที่ต้องขอเป็นเพื่อนกันก่อน ผมจึงนำโซเชี่ยลมีเดียนี้มาใช้หาลูกค้าที่เข้าถึงยาก โดยเฉพาะเลเวลผู้บริหารขึ้นไป วันนี้จึงจัดให้พิเศษกับเทคนิคขั้นเทพของผมเองครับ

1. ปรับโปรไฟล์ให้ดูดี

ถ้าคุณมีโปรไฟล์ซึ่งก็เหมือนกับเรซูเม่บนลิ้งก์อินอยู่แล้ว หรือไม่เคยใช้มาก่อนเลยก็ไม่เป็นไร หลักการคือใส่เรซูเม่ให้ครบนั่นเอง แต่คุณทำให้เจ๋งกว่านั้นได้ ไล่ตั้งแต่รูปโปรไฟล์ที่ต้องดูเป็นมือโปร ใส่ประสบการณ์งานที่เป็นรางวัลหรือผลงาน ภาษาอังกฤษล้วน ใส่ใบ Cert ให้ครบและเพิ่มสกิลที่ถนัดให้หมด รวมไปถึงวุฒิการศึกษาทั้งหมดที่มี ที่สำคัญคือควรสะกดให้ถูกเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ

2. นิยามให้ชัดเจนว่าต้องการหาลูกค้าแบบไหน

ลูกค้าในอุดมคติของคุณเป็นอย่างไร เช่น ตำแหน่งที่ต้องการหรือตรงที่สุด หรือบริษัทลูกค้าที่ได้คุณค่าจากธุรกิจที่คุณทำสูงสุด ปัจจัยสำคัญที่คุณต้องเอาให้เคลียร์ มีดังนี้

– อุตสาหกรรมที่ต้องการ เช่น การเงิน ธนาคาร ก่อสร้าง โรงงาน ราชการ ฯลฯ
– ตำแหน่งที่ต้องการ เช่น ผู้จัดการ ผู้บริหาร CEO, CTO, CFO, etc.
– ขนาดของธุรกิจ เช่น SME, Enterprise, มหาชน ระดับโลก ฯลฯ
– สถานที่ เช่น กรุงเทพฯ ชลบุรี ระยอง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ

3. ใช้คุณสมบัติ “Advance Search Filter” ให้คล่อง

มันคือ Search Bar คล้ายๆ กับใส่คำค้นในกูเกิ้ลน่ะครับ ลองป้อนง่ายๆ เช่น อยากรู้จักผู้จัดการไอทีของบริษัท SCG ก็ป้อนว่า “IT Manager SCG” ซึ่งก็น่าจะมีคนที่คุณต้องการไม่มากก็น้อย และสามารถใช้คุณสมบัติ Advance เพื่อระบุคำค้นที่ละเอียดมากยิ่งขึ้นได้ เช่น อุตสาหกรรม ขนาดขององค์กร ตำแหน่ง ที่อยู่ ฯลฯ

4. เข้ากลุ่มเครือข่ายในลิ้งก์อิน

เหมือนเฟซบุ้คที่มีกลุ่มเปิดและกลุ่มปิดตามสิ่งที่คุณชอบ เช่น บ้าน รถ สัตว์เลี้ยง ฯลฯ ลิ้งก์อินก็มีครับ เพราะเป็นไปได้ว่าคนที่คุณมองหาอาจจะอยู่ในกลุ่มนั้นด้วย ทำให้คุณเจอหรือทำความรู้จักพวกเขาได้ง่ายขึ้น เช่น กลุ่ม IT Group ซึ่งคนข้างในจะพูดแต่เรื่องไอที หรือกลุ่มมาร์เก็ตติ้งสำหรับเหล่านักการตลาด เป็นต้น

5. ใช้เงินซื้อฟังก์ชั่น LinkedIn Sales Navigator

ก็ต้องบอกว่าโลกนี้ไม่มีอะไรฟรีอยู่แล้ว เพราะเวลาคุณขอเป็นเพื่อนชาวบ้านไปเรื่อยๆ ลิ้งก์อินจะเริ่มบอกให้คุณสมัครสมาชิกแบบพรีเมี่ยม ปีนึงประมาณสองหมื่นกว่า (แพงนะเนี่ย) ซึ่งจะปลดล็อกความสามารถสุดยอดแบบ Tinder Gold ที่ทำให้คุณปัดขวาหรือขอเป็นเพื่อนกับลูกค้าได้แบบ “ไม่จำกัด”

นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์เทพอย่าง LinkedIn Sales Navigator ที่ฟิลเตอร์จะละเอียดกว่า เล่นง่ายกว่านั้นคือป้อนแค่ชื่อบริษัทก็พอ มันจะดึงคนในบริษัทนั้นๆ ที่เล่นลิ้งก์อินออกมาให้คุณเป็นเพื่อน สุดตีนจริงๆ

6. ทำความรู้จักกับเป้าหมายและขอพูดคุย

เมื่อได้เป็นเพื่อนแล้วก็จะรออะไรอยู่ครับ เหมือนเฟซบุ้คที่สามารถส่งข้อความตรงได้เลย สคริปต์ข้อความก็คล้ายๆ การทำ Cold-Calling ลองแนะนำตัวแบบน่าเชื่อถือ ระบุคุณค่าที่คุณทำ และจุดประสงค์ที่คุณขอเป็นเพื่อนแบบสั้นๆ เหมือนคนแชตหากัน อย่าก็อปทั้งดุ้นวาง นอกจากนี้ลิ้งก์อินมีฟีเจอร์ “InMail” ที่ใช้ส่งข้อความทะลุหาคนที่ยังไม่รับคุณเป็นเพื่อนได้ ซึ่งถ้าคุณเสียเงินซื้อพรีเมี่ยมก็จะยิงได้เดือนละ 100 เมล

7. สร้างความสัมพันธ์ด้วยการเสนอหน้าบ่อยๆ

โดยเฉพาะคนที่คุณติดตาม เวลาเขาโพสต์อะไรดีๆ ก็ไปคอมเมนต์พวกเขาเยอะๆ กดไลค์ กดแชร์ เพื่อให้เป้าหมายในลิ้งก์อินจดจำคุณได้ จากนั้นก็เข้าไปมีส่วนร่วมด้วยการทักทาย ทำนัดขายของตามปกติครับ

8. ติดตามผล

เชื่อหรือไม่ว่าการแชตหาเป้าหมายที่พึ่งเป็นเพื่อนกันแล้วไม่มีใครตอบ จริงๆ พวกเขาอาจจะยุ่งอยู่หรือทำอย่างอื่น คุณจึงควรหมั่นติดตามด้วยการทักซ้ำหรือเปลี่ยนคำทักทาย เหมือนจีบสาวออนไลน์อะครับ เดี๋ยวลูกค้าก็จะตอบกลับมาเองและจะทำให้คุณมีโอกาสทำนัด ขออีเมล หรือได้เบอร์โทรเพื่อขายของได้

Leave your vote

-1 points
Upvote Downvote

Comments

0 comments

Similar Posts